บ้านในเขตร้อนชื้นมักจะประสบปัญหาจากฝนฟ้าอยู่เป็นประจำ หากเรารู้เทคนิคป้องกันล่วงหน้าก็จะช่วยลดความเสียหายให้ทุเลาลงได้ และเพื่อป้องกันปัญหาของบ้านที่อาจจะเกิดตามมาในหน้าฝน ตาม Seekster มาดูกันว่า....... เทคนิคดูแลบ้านแบบง่ายๆ ในช่วงหน้าฝน มีอะไรบ้าง :)

1.ตรวจเช็ครอยร้าว รอยรั่วซึม

จุดนี้ถือเป็นจุดสำคัญอันดับต้นๆ ที่ต้องตรวจสอบเลยค่ะ เนื่องจากเป็นปัญหาในจุดเล็กทำให้ใครหลายคนไม่สนใจปล่อยปะละเลย เราต้องหมั่นสังเกตให้ดีตาม หลังคา ฝ้า ผนัง และรอยแตกร้าวตามส่วนต่างๆ ของบ้าน เมื่อพบปัญหาแล้วควรรีบติดต่อช่างผู้เชี่ยวชาญมาแก้ไขทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่จนแก้ไขยากและทำให้ส่วนอื่นๆ ของบ้านเสียหายตามไปด้วยได้

โดยเฉพาะหลังคารั่ว นับเป็นปัญหาคลาสสิกในช่วงหน้าฝนเลยก็ว่าได้ ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่มักพบกับปัญหาหลังจากฝนกระหน่ำลงมาแล้ว ดังนั้น ก่อนเข้าสู่หน้าฝน เราต้องหมั่นสำรวจว่า มีจุดไหนบนหลังคาบ้างที่มีรอยแตกร้าว มีคราบตะไคร่น้ำ หรือสังเกตจากคราบน้ำบนฝ้าเพดานก็ได้ ถ้าเห็นรอยน้ำเป็นด่างเป็นดวง อาจวิเคราะห์ได้ว่าเกิดจากความชื้น

Tips: การป้องกันในส่วนรอยรั่วซึมของหลังคา อาจติดตั้งเป็นอุปกรณ์หลังคากันรั่ว ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้ทั้งแบบเป็นชุดครอบหรือแผ่นปิดรอยต่อ ที่จะสามารถตัดขึ้นรูปตามลอนกระเบื้องหรือรอยต่อได้ ซึ่งง่ายกว่าการใช้สังกะสีที่ตัดยากหรือการอุดรอยต่อด้วยปูนทรายที่มักแตกร้าวง่าย นอกจากนี้แผ่นปิดรอยต่อยังสามารถทาสีทับให้กลมกลืนไปกับสีของหลังคาได้อีกด้วยค่ะ

2. ป้องกันผนังมีคราบดำและเชื้อรา

เรื่องผนังเป็นคราบเป็นรอย ชื้นจนขึ้นเชื้อรา ตะไคร่ Seekster เชื่อว่าคงเป็นปัญหาจุกจิกกวนใจเจ้าของบ้านกันทุกคน  ที่ทำให้บ้านของเราดูทรุดโทรมไม่สวย หากเป็นปัญหาแรกที่ยังไม่หนักมากก็แนะนำให้เราทำความสะอาดมันบ่อยๆ เพื่อไม่คราบมันฝังลึกลงไป หรือใครที่ต้องการจะทาสีใหม่ก็ทำได้เช่นกัน โดยเลือกสีที่ป้องกันคราบ กันเชื้อรา และทำความสะอาดง่ายมาทา แต่ถึงอย่างนั้นก็มีข้อควรระวังที่ทำตามขั้นตอนคำแนะนำให้ดี อย่างเช่นบ้านที่ผนังเป็นเชื้อรา ควรทำความสะอาดและทำการฆ่าเชื้อราก่อนลงสีใหม่ค่ะ นอกจากนี้จะต้องตรวจสอบความชื้นของฝาผนังให้เรียบร้อยสะก่อนเริ่มทาสี เพราะหากความชื้นมากเกินไปจะทำให้การลอกของสี สุดท้ายเราก็ต้องทาใหม่อีกได้

Tips: ใครที่ไม่อยากให้ฝนสาดเขามาในบ้าน ก็ลองต่อเติมหลังกันสาดหรือเฉลียงออกไปเพิ่ม เพื่อป้องกันฝนสาดเข้าตัวบ้าน ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดี ได้ประโยชน์ทั้งในหน้าฝนและหน้าร้อนที่ต้องการบังแสงแดด พร้อมทั้งยังมีพื้นที่นั่งเล่นภายในตัวบ้านได้เพิ่มขึ้นและช่วยยืดอายุการใช้งานวัสดุหน้าต่าง-บานประตูไม่ให้ผุพังเร็วอีกด้วยน้า

3. ขัดล้างพื้นหลังฝนตก

ช่วงที่ฝนตกหนักติดต่อกัน บริเวณพื้นที่น้ำฝนกระเซ็นใส่อย่างต่อเนื่องมักเกิดคราบตะไคร่น้ำ คราบรา คราบดินที่เกาะติดอยู่บนพื้นภายนอกและเปียกชุ่ม เราไม่ควรปล่อยให้พื้นลื่น เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้ง่าย จึงควรหมั่นขัดล้างทำความสะอาดหลังฝนตก ไม่ปล่อยทิ้งไว้เป็นคราบสะสมจนขจัดออกยาก ต้องเช็ดทำความสะอาดให้แห้งอยู่เสมอ หากมีตะไคร่น้ำ ต้องใช้แปรงขัดทำความสะอาด

Tips: การเลือกวัสดุสร้างบ้าน ถ้าเป็นวัสดุปูพื้นภายนอก เช่น กระเบื้องปูพื้นภายนอก หรือบล็อกปูพื้น ควรเลือกแบบที่มีช่องว่างในเนื้อคอนกรีต เพื่อช่วยให้น้ำสามารถซึมผ่านได้ดี และเป็นการระบายน้ำไปในตัวทำให้ลดโอกาสเกิดน้ำท่วมขังและป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากพื้นลื่นบางพื้นที่ที่ต้องใช้งานบ่อยและมีโอกาสโดนฝนเป็นประจำ ควรทำทางระบายน้ำ โดยปรับระดับทำพื้นลาดเอียงที่ 1:200

4. ตัดแต่งกิ่งไม้ใหญ่รอบๆ บ้านให้สั้นลง

ขึ้นชื่อว่าหน้าฝนแล้วสิ่งที่ตามมาก็คือลมพายุที่เมื่อเกิดพายุฝนตกหนัก กระแสลมกรรโชกแรง ซึ่งกระแสลมนี้เองอาจทำให้กิ่งไม้ ต้นไม้ หักโค่นลงมาทับตัวบ้านเกิดความเสียหายได้ โดยเฉพาะกิ่งไม้ขนาดใหญ่ที่อยู่ติดหลังคาบ้าน ที่ต้องระวังกิ่งหักลงมาทับกระเบื้องหลังคาเสียหายและเผลอๆ อาจมีสัตว์เลื้อยคลานใช้กิ่งไม้เป็นทางผ่านเลื้อยเข้าไปในบ้านได้

เพื่อป้องกันการหักโค่นล้มทับบ้านหรือสายไฟ ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เราควรหาเวลามาตัดแต่งกิ่งไม้ ให้มีขนาดสั้นลงหรือว่าทำไม้ค้ำยันที่บริเวณโคนต้นไม้เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับลำต้น เพราะกิ่งไม้ใหญ่อาจโดนลมฝนพัดจนหักล้มทับตัวบ้านเกิดความเสียหายที่ต้องจ่ายเงินซ่อมแซมตัวบ้าน หรือล้มทับสายไฟจนส่งผลให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ และยังอาจเกิดอันตรายกับคนที่อยู่ในบ้านอีกด้วยโดยเฉพาะเด็กและผู้ใหญ่ที่อาจอยู่ในบ้านตามลำพัง หากไม่ชำนาญการตัดแต่งกิ่งควรเรียกผู้ที่มีความเชี่ยวชาญให้เข้ามาช่วยดูอาจะเป็นประจำปี หรือทุกๆ 6 เดือน

Tips:

-          หน้าฝนถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการนำต้นไม้ใหม่ ๆ มาปลูกในสวน โดยเฉพาะการลงต้นไม้ใหญ่ หรืออาจจะถือเป็นช่วงย้ายต้นไม้ในกระถางลงดิน เพราะอากาศช่วงนี้จะมีความชื้นสูง และน้ำฝนจะคอยช่วยให้ความชุ่มชื้นกับดิน ใบไม้จึงระเหยน้ำไม่มาก ทำให้ต้นไม้มีโอกาสรอดได้เยอะกว่า

-          ทำไม้ค้ำยันเสริมความแข็งแรง เพราะฤดูฝนเป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่สุดในการปลูกต้นไม้ อากาศมีความชื้นสูง พื้นดินชุ่มฉ่ำ เป็นสารอาหารที่ดีแก่ต้นไม้ เราสามารถย้ายต้นไม้ใหญ่หรือพืชต้นใหม่ลงพื้นดินในบ้านตอนหน้าฝน ใบไม้จะคายน้ำไม่มาก ลำต้นยึดเกาะกับเนื้อดินอย่างรวดเร็ว ต้นไม้ก็จะเจริญเติบโตได้ดี และเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ต้นไม้ขนาดเล็ก-กลางที่อาจจะโอนเอนโค่นล้มตามแรงลม ควรทำไม้ค้ำรอบด้านยันลำต้นให้ตั้งตรง ช่วยให้รากไม้แผ่ขยาย ยึดเกาะกับพื้นดินมั่นคงยิ่งขึ้น

-          หาพวกไม้ดอกที่ออกดอกสวยงามในหน้าฝนมาลงไว้ในสวน จะทำให้บ้านมีบรรยากาศสดชื่นขึ้นอีกมากทีเดียว (ดอกไม้ที่เหมาะสำหรับนำมาปลูกในฤดูฝน อาทิ ดอกพิทูเนีย ดอกยี่เข่ง ดอกเวอร์ปีน่า ดอกกล้วยไม้ดิน ดอกเครื่องละครเลีย ดอกมาร์กาเร็ต ดอกมอร์นิ่งกลอรี่ ดอกปทุมรัตน์)

-          เพิ่มความสดชื่นให้กับบ้านด้วยการปลูกไม้พุ่มริมระเบียง ให้สามารถมองเห็นสีเขียวจากภายในบ้าน ความสูงของไม้พุ่มประมาณ 80 เซนติเมตร เพื่อให้สามารถมองเห็นในระดับสายตา และพุ่มไม้เหล่านี้ยังช่วยป้องกันการกระเซ็นของน้ำฝนที่ตกมาได้อีกด้วย

5. กำจัดแมลงกวนใจ

พอฝนตกสิ่งที่อพยพตามมาคงหนีไม่พ้น มด แมลงสาบ ตะขาบ และสัตว์ต่างๆ การกำจัดตั้งแต่ต้นก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าหากทำไม่ได้จริงๆ เราก็เปลี่ยนมาป้องกันแทนได้ ดังนี้

-          วิธีป้องการงู,หนู – โดยใช้วิธีการโรยผงกำมะถัน น้ำมันก๊าซ แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวังและควรอยู่ห่างสัตว์เลี้ยงของเรา

-          วิธีป้องกันตะขาบ – ใช้ปูนขาวโรยตามทาง วางสบู่ก้อนบริเวณท่อ

-          วิธีไล่มด – โรยแป้งเด็ก หรือใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำเปล่าฉีดพ่นที่มดอยู่

6. เช็คระบบไฟฟ้าและตรวจสอบปลั๊กไฟ

อีกหนึ่งอันตรายที่มากับฝน คือ ไฟช็อต ไฟดูด ไม่ว่าจะมาจากปลั๊กไฟ สวิตซ์ไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อาจเปียกชื้นจากน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราสัมผัสเป็นประจำ สำหรับปลั๊กไฟ หากปล่อยให้น้ำกระเด็นเข้าไปจะเป็นอันตรายอย่างมาก โดยเฉพาะปลั๊กที่อยู่ติดประตูหรือหน้าต่างที่เสี่ยงต่อการโดนน้ำ ลองหาอะไรมาปิดไว้หรือทางที่ดีควรเปลี่ยนไปใช้ปลั๊กแบบที่มีฝาเปิด-ปิดจะช่วยให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น ก่อนใช้งานต้องสังเกตให้ดีว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าของเรามีน้ำฝนรั่วซึมหรือไม่ ถ้ามีควรรีบเปลี่ยนหรือแก้ไขก่อนใช้งานโดยช่างผู้ชำนาญ

7. เคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์สนามเข้าที่ร่ม

เฟอร์นิเจอร์ที่กล่าวนี้หมายถึง “เฟอร์นิเจอร์สนาม” เช่น โต๊ะนั่งที่สนามหญ้า หรือเฟอร์นิเจอร์สนามที่ต้องตากแดด ตากฝนบ่อยๆ ถึงแม้ว่าเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้จะสามารถทนทานต่อแสงแดด สายฝน แต่เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้เมื่อโดยฝน เปียกน้ำเป็นเวลานานๆ อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เฟอร์นิเจอร์เหล่านี้เสื่อมสภาพและเสียหายเร็วกว่ากำหนด ดังนั้นเพื่อป้องกันการเสียหายและป้องกันการสึกกร่อนเสื่อมโทรมก่อนเวลาอันควร ทางที่ดีควรย้ายเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้เพื่อหลบฝน หรืออาจจะใช้วิธีของการหาผ้าใบมาคลุมเมื่อฝนตกก็ได้ แค่นี้เราก็สามารถยืดอายุการใช้งานของเฟอร์นิเจอร์สุดสวยของเราได้อีกวิธีหนึ่งในฤดูฝนได้นั่นเอง

Tips: จัดมุมพักผ่อนบริเวณชานบ้าน ห้องนั่งเล่นริมหน้าต่าง โดยเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ทนแดดทนฝน จำพวก ไม้ หวายเทียม หรือใช้เฟอร์นิเจอร์ประเภทวัสดุสังเคราะห์ หรือใครจะลองหาเปลญวนมาผูกไว้กับเสาบ้าน ก็น่าจะสร้างบรรยากาศผ่อนคลายได้มากเลยทีเดียวค่ะ ^^

8. ป้องกันการเกิดเชื้อราจากเครื่องนอน

ในช่วงหน้าฝนจะมีความชื้นสูงจึงเกิดเชื้อราได้ง่าย เราสามารถป้องกันการเกิดจากเชื้อราภายในห้องนอนได้ คือ การนำเครื่องนอนออกไปตากแสงแดดบ่อยๆ ช่วงที่แดดออกพยายามเปิดให้แสงแดดส่องเข้ามาในห้อง , ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศแอร์ ใบพัดลมและพรมทุกสัปดาห์

ทังนี้เว็บไซต์โรงพยายาลราชวิถี น.พ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าในช่วงฤดูฝน ทำให้อากาศภายในบ้านมีความชื้นสูง ประชาชนต้องจัดการสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้ถูกสุขลักษณะ เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด มีการระบายอากาศที่ดีและมีแสงสว่างจากธรรมชาติส่องเข้าถึงภายในบ้าน เพื่อลดความชื้น ลดฝุ่นละออง ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคภายในบ้าน และยังลดโอกาสของการเกิดโรคภูมิแพ้

ทั้งหมดนี้เป็น 10 เคล็ดลับง่ายๆ ที่ Seekster ได้นำมาฝากเพื่อต้อนรับหน้าฝน เพราะปัญหาของฟ้าฝนลมพายุอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายของบ้านเราได้ การดูแลบ้านให้สะอาดน่าอยู่ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญมาก ถึงแม้ว่าหน้าฝนจะนำความเสียหายมาสู่ตัวบ้านเรา แต่ถ้าเราดูแลอย่างถูกวิธีก็จะทำให้บ้านเราไม่เกิดความเสียหายและน่าอยู่ยิ่งขึ้น แค่นี้ฤดูฝนก็ไม่ใช่ปัญหาของบ้านเราอีกต่อไป……

สำหรับใครที่สนใจรับบริการแม่บ้าน สามารถดาวโหลดแอพพลิเคชัน Seekster ทั้งในระบบ Android และ IOS ตามลิงค์นี้เลย! : http://bit.ly/2XFz0c9

เพื่อนๆ สามารถติดตามข่าวสารโปรโมชั่นและอัพเดทความรู้ด้านงานบ้าน งานช่าง ได้ที่นี่ หรืออีกหนึ่งช่องทางง่ายๆ จากทาง FB Fanpage